หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2553

1.ทฤษฎีการเรียนรู้เป็นอย่างไร

1.ทฤษฎีการเรียนรู้เป็นอย่างไร
http://edtechno.msu.ac.th/mod/resource/view. กล่าวไว้ว่า วรกวิน (2523: 56-60) การเรียนรู้ หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนพฤติกรรม ซึ่งหมายถึง กิจกรรมที่ผู้เรียนแสดงออก และสามารถสังเกตและวัดได้ การศึกษากระบวนการเรียนรู้จึงต้องศึกษาเรื่องของพฤติกรรมมนุษย์ที่เปลี่ยนไปในลักษณะที่พึงประสงค์ การพิจารณาการเรียนรู้ของผู้เรียนจำเป็นต้องสังเกตและวัดพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป การศึกษาพฤติกรรมต่าง ๆ นำไปสู่การกำหนดทฤษฎี การเรียนรู้ต่าง ๆ ทฤษฎีกระบวนการกลุ่มพฤติกรรมร่วมกันระหว่างครูและผู้เรียนรวมทั้งวิธีการจัดระบบการเรียนการสอนที่จะช่วยทำให้ผู้เรียนเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้ไปตามวัตถุประสงค์
http://school.obec.go.th กล่าวไว้ว่า ทฤษฎีการเรียนรู้ (learning theory ) การเรียนรู้ ตามความหมายทางจิตวิทยา หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลอย่างค่อนข้างถาวร อันเป็นผลมาจากการฝึกฝนหรือการมีประสบการณ์
http://th.wikipedia.org/wiki กล่าวไว้ว่า ทฤษฎีการเรียนรู้ (learning theory) การเรียนรู้คือกระบวนการที่ทำให้คนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ความคิด คนสามารถเรียนได้จากการได้ยินการสัมผัส การอ่าน การใช้เทคโนโลยี การเรียนรู้ของเด็กและผู้ใหญ่จะต่างกัน เด็กจะเรียนรู้ด้วยการเรียนในห้อง การซักถาม ผู้ใหญ่มักเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ที่มีอยู่ แต่การเรียนรู้จะเกิดขึ้นจากประสบการณ์ที่ผู้สอนนำเสนอ โดยการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ผู้สอนจะเป็นผู้ที่สร้างบรรยากาศทางจิตวิทยาที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ ที่จะให้เกิดขึ้นเป็นรูปแบบใดก็ได้
สรุป ทฤษฎีการเรียนรู้ หมายถึง กระบวนการเรียนรู้ที่กำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ ให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่วางไว้ระหว่างครูและผู้เรียน รวมทั้งกิกรรมการเรียนการสอนที่ทำเกิดให้การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียนตามวัตถุประสงค์ที่ผู้สอนวางไว้

อ้างอิง
http://edtechno.msu.ac.th/mod/resource/view
http://school.obec.go.th
http://th.wikipedia.org/wiki

2.มีทฤษฎีอะไรบ้างที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ และแต่ละทฤษฎีเป็นอย่างไร

2.มีทฤษฎีอะไรบ้างที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ และแต่ละทฤษฎีเป็นอย่างไร
http://edtechno.msu.ac.th/mod/resource/view.php กล่าวไว้ว่า ทฤษฎีการเรียนรู้ที่เป็นพื้นฐานนั้นเป็นทฤษฎีที่ได้จาก 2 กลุ่ม คือ
1.ทฤษฎีจากกลุ่มพฤติกรรมนิยม
นักจิตวิทยาการศึกษากลุ่มนี้ เช่น chafe Watson Pavlov, Thorndike, Skinner ซึ่งทฤษฎีของนักจิตวิทยากลุ่มนี้มีหลายทฤษฎี เช่น ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory) ทฤษฎีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง (Connectionism Theory) ทฤษฎีการเสริมแรง (Stimulus-Response Theory)
2.ทฤษฎีจากกลุ่มความรู้ (Cognitive)
การนำแนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มความรู้ (Cognition) มาใช้คือ การจัดการเรียนรู้ต้องให้ผู้เรียนได้รับรู้จากประสาทสัมผัส เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ จึงเป็นแนวคิดในการเกิดการเรียนการสอนผ่านสื่อ
http://gotoknow.org/blog/kpw กล่าวไว้ "การเรียนรู้" ตามความหมายทางจิตวิทยา หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลอย่างค่อนข้างถาวร อันเป็นผลมาจากการฝึกฝนหรือการมีประสบการณ์ จากความหมายดังกล่าว พฤติกรรมของบุคคลที่เกิดจากการ เรียนรู้จะต้องมีลักษณะสำคัญ ดังนี้
1. พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจะต้องเปลี่ยนไปอย่างค่อนข้างถาวร จึงจะถือว่าเกิดการเรียนรู้ขึ้น หากเป็นการเปลี่ยนแปลงชั่วคราวก็ยังไม่ถือว่าเป็นการเรียนรู้ ซึ่งก็คือเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวรนั่นเองอย่างไรก็ดี ยังมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมแต่เปลี่ยนแปลงชั่วคราว
2. พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจะต้องเกิดจากการฝึกฝน หรือเคยมีประสบการณ์นั้น ๆ มาก่อน เช่น ความ สามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ ต้องได้รับการฝึกฝน และถ้าสามารถใช้เป็นแสดงว่าเกิดการเรียนรู้ หรือความ สามารถในการขับรถ ซึ่งไม่มีใครขับรถเป็นมาแต่กำเนิดต้องได้รับการฝึกฝน หรือมีประสบการณ์ จึงจะขับรถเป็น ในประเด็นนี้มีพฤติกรรมบางอย่างที่เกิดขึ้นโดยที่เราไม่ต้องฝึกฝนหรือมีประสบการณ์
http://school.obec.go.th กล่าวไว้ว่า ทฤษฎีการเรียนรู้ทางจิตวิทยาอาจแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
1. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behavioral Theory)
ทฤษฎีในกลุ่มนี้ อธิบายว่า การเรียนรู้ในสิ่งต่างๆ เป็นการสร้างความสัมพันธ์หรือเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า กับการตอบสนอง ทฤษฎีที่สำคัญในกลุ่มนี้ได้แก่ ทฤษฎีการเรียนรู้วางเงื่อนไขแบบคลาสสิก หรือแบบสิ่งเร้าและ ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบการกระทำ
2. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม (Cognitive theory)
ทฤษฎีในกลุ่มนี้อธิบายว่า การเรียนรู้เป็นผลของกระบวนการคิด ความเข้าใจ การรับรู้สิ่งเร้าที่มากระตุ้น ผสมผสานกับประสบการณ์ในอดีตที่ผ่านมาของบุคคล ทำให้เกิดการเรียนรู้ขึ้น ซึ่งการผสมผสานระหว่าง ประสบการณ์ที่ได้รับในปัจจุบันกับประสบการณ์ในอดีต จำเป็นต้องอาศัยกระบวนการทางปัญญาเข้ามามีอิทธิพลในการเรียนรู้ด้วย ทฤษฎีกลุ่มนี้จึงเน้นกระบวนการทางปัญญา (Cognitive Process) มากกว่า การวางเงื่อนไข เพื่อให้เกิดพฤติกรรม ทฤษฎีการเรียนรู้ในกลุ่มนี้ ได้แก่ ทฤษฎีการเรียนรู้ปัญญาทางสังคม การเรียนรู้แบบการหยั่งรู้ เป็นต้น

สรุป ทฤษฎีการเรียนรู้ที่สำคัญที่เกี่ยวกับการเรียนรู้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มพฤติกรรมนิยม เป็นการเรียนรู้โดยการเชื่อมโยงพฤติกรรมระหว่างการตอบสนองกับสิ่งเร้า และกลุ่มปัญญานิยมเป็นการเรียนรู้ผสมผสานกันระหว่างประสบการณ์ในอดีตกับปัจจุบัน

อ้างอิง
http://edtechno.msu.ac.th/mod/resource/view.php
http://gotoknow.org/blog/kpw
http://school.obec.go.th

3.นวัตกรรม คือ อะไร

3.นวัตกรรม คือ อะไร
กิดานันท์ มลิทอง (2540:245) กล่าวคือ นวัตกรรมไว้ว่า เป็นแนวคิด การปฏิบัติหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยมีการใช้มาก่อนหรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและใช้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดี มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงาน
จรูญ วงศ์สายัณห์ (2520:37) ได้กล่าวถึงความหมายของ “นวัฒกรรม” ไว้ว่า สิ่งที่ได้นำความเปลี่ยนแปลงใหม่เข้ามาใช้ได้ผลสำเร็จและแผ่กว้างออกไป จนกลายเป็นการปฏิบัติอย่างธรรมดาสามัญ เช่น การปลูกฝีในวงการแพทย์
บุญเกื้อ ควรหาเวช (2542:12) ได้ให้ความหมายของนวัฒกรรมไว้ว่า เป็นการนำสิ่งใหม่ๆเข้ามาเปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมวิธีการที่ทำอยู่เดิม เพื่อให้ใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น
สุภากร ราชากรกิจ (2537:57) ได้กล่าวถึงนวัฒกรรมว่า เป็นการปฏิบัติหรือกรรมวิธีที่นำเอาวิธีการใหม่ๆมาใช้หรือการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงวิธีทำสิ่งต่างๆให้ดีกว่าเดิม
http://school.obec.go.th/ กล่าวไว้ว่า คำว่า “นวัตกรรม” หมายถึงการนำสิ่งใหม่ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมจากวิธีการที่ทำอยู่เดิม เพื่อให้ใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น ดังนั้นไม่ว่าวงการหรือกิจการใด ๆ ก็ตาม เมื่อมีการนำเอาความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เข้ามาใช้เพื่อปรับปรุงงานให้ดีขึ้นกว่าเดิมก็เรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรม
http://tikkatar.is.in.th/ กล่าวไว้ว่านวัตกรรม หมายถึง เครื่องมือ สื่อ หรือ วิธีการใหม่ๆ ที่นำมาพัฒนาการเรียนรู้ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในทางที่ดีมีคุณภาพ และเกิดประสิทธิภาพสูงขึ้น ไม่ว่าสื่อหรือวิธีการนั้นจะคิดขึ้นใหม่ หรือ ดัดแปลงปรับปรุงมาจากของเดิมหรือเคยใช้ได้ผลดีมาแล้วจากที่อื่น และนำมาใช้อีกก็ถือว่าเป็น "นวัตกรรม"
สรุป นวัตกรรม หมายถึง สิ่งใหม่ๆหรือเป็นการดัดแปลงสิ่งที่มีอยู่แล้วให้ดีใช้ได้ผลดีกว่าเดิม ที่ยังไม่มีใครนำมาใช้ เมื่อนำมาใช้ทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

อ้างอิง
รศ.ดร.กิดานันท์ มลิทอง.เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม.(2543):ห.จ.ก อรุณการพิมพ์
พิมพ์ครั้งที่ 2
http://school.obec.go.th/
http://tikkatar.is.in.th/

4.นวัตกรรมทางการศึกษา คืออะไร

4.นวัตกรรมทางการศึกษา คืออะไร
http://www.kmutt.ac.th กล่าวไว้ว่า นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง ความคิดและวิธีการปฏิบัติใหม่ ๆที่ส่งเสริมให้กระบวนการทางการศึกษามีประสิทธิภาพ
http://school.obec.go.th กล่าวไว้ว่า “นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation )” หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย ในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่าง ซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายแล้ว และประเภทที่กำลังเผยแพร่ เช่น การเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้แผ่นวิดีทัศน์เชิงโต้ตอบ สื่อหลายมิติ และอินเทอร์เน็ต เหล่านี้ เป็นต้น
http://tikkatar.is.in.th กล่าไว้ว่า นวัตกรรมแบบทางการศึกษา หมายถึง เครื่องมือ สื่อ แนวคิด วิธีการกระบวนการ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ที่นำมาใช้แก้ปัญหาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพตรงตามเป้าหมายของหลักสูตร
สรุป นวัตกรรมการศึกษา คือ สิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ที่ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และแรงจูงใจในการเรียน แล้วทำให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ

อ้างอิง
http://www.kmutt.ac.th
http://school.obec.go.th
http://tikkatar.is.in.th

5.เทคโนโลยี หมายถึงอะไร

5.เทคโนโลยี หมายถึงอะไร
พจนานุกรมฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน (2539 : 406) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยี คือ “วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ให้เกิด ประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม” ชำนาญ เชาวกีรติพงศ์ (2534 : 5) ได้ให้ความหมายสั้น ๆ ว่า เทคโนโลยี หมายถึง วิชาที่ว่าด้วยการประกอบวัตถุเป็นอุตสาหกรรม หรือวิชาช่างอุตสาหกรรมหรือการนำเอาวิทยาศาสตร์มาใช้ในทางปฏิบัติ
http://arc.rint.ac.th กล่าวไว้ว่า คำว่า เทคโนโลยี ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า “Technology” ซึ่งมาจากภาษากรีกว่า “Technologia” แปลว่า การกระทำที่มีระบบ อย่างไรก็ตามคำว่า เทคโนโลยี มักนิยมใช้ควบคู่กับคำว่า วิทยาศาสตร์ โดยเรียกรวม ๆ ว่า “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี”
http://www.kmutt.ac.th กล่าวไว้ว่า เทคโนโลยีเป็นการนำเอาแนวความคิด หลักการ เทคนิค ความรู้ ระเบียบวิธี กระบวนการตลอดจนผลผลิตทางวิทยาศาสตร์ทั้งในด้านสิ่งประดิษฐ์และวิธีปฏิบัติมาประยุกต์ใช้ในระบบงานเพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำงานให้ดียิ่งขึ้นและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานให้มีมากยิ่งขึ้น
สรุป เทคโนโลยี หมายถึง สิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ ที่นำมาใช้ในระบบงานเพื่อช่วยในการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

อ้างอิง
นาฏยา อุทฤษฎีดุษฎี.เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต.(2550).กรุงเทพ:
พระพุทธศาสนาแห่งชาติ.พิมพ์ครั้งที่ 3
http://arc.rint.ac.th
http://www.kmutt.ac.th

6.เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึงอะไร

6.เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึงอะไร
นาฏยา อุกฤษฎ์ดุษฎี (2550:3) เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การนำเทคโนโยลีมาใช้งานที่เกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศ ซึ่งเทคโนโลยีที่ใช้เป็นการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์กับเทคโนโลยีการสื่อสารเพื่อช่วยในการสื่อสาร และการส่งผ่านข้อมูลและสารสนเทศได้อย่างสะดวกรวดเร็วมากขึ้น
http://www.bcoms.net/temp/lesson1.asp กล่าวไว้ว่า ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) หมายถึง อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมประมวล เก็บรักษา และเผยแพร่ข้อมูลและสารสนเทศโดยรวมทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ฐานข้อมูล และการสื่อสาร โทรคมนาคม
http://th.wikipedia.org/wiki/ กล่าวไว้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ไอที (IT ย่อจาก information technology) หมายถึงเทคโนโลยีสำหรับการประมวลผลสารสนเทศ ซึ่งครอบคลุมถึงการรับ-ส่ง การแปลง การจัดเก็บ การประมวลผล และการค้นคืนสารสนเทศ ในการประยุกต์ การบริการ และพื้นฐานทางเทคโนโลยี
สรุป เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีที่นำมาใช้ประมวลผลข้อมูลสารสนเทศ โดยการผสมผสานระหว่างคอมพิวเตอร์กับการสื่อสาร เพื่อช่วยในการเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศได้เร็วขึ้น

อ้างอิง
นาฏยา อุทฤษฎีดุษฎี.เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต.(2550).กรุงเทพ:
พระพุทธศาสนาแห่งชาติ.พิมพ์ครั้งที่ 3
http://www.bcoms.net/temp/lesson1.asp http://th.wikipedia.org/wiki

7.เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีบทบาทในการศึกษามีอะไรบ้าง และแต่ละอย่างเป็นอย่างไร

7.เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีบทบาทในการศึกษามีอะไรบ้าง และแต่ละอย่างเป็นอย่างไร
http://etc4msu.multiply.com กล่าวไว้ว่า การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา การเรียนรู้โดยจัดให้มีการพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พัฒนาผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษา พัฒนาหลักสูตรให้เอื้อต่อการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการเรียนการสอน เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนทางไกล จัดให้มีศูนย์ข้อมูลสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Courseware Center) ให้มีการเรียนการสอนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) จัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) จัดให้มีห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (e-Library) เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต (Lifelong Learning) นำไปสู่สังคมแห่งคุณธรรมและสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้
http://learners.in.th กล่าวไว้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับแล้วว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology หรือ IT) ได้เจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว และมีบทบาทสำคัญในด้านต่างๆ อย่างกว้างขวาง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม การบริการสังคม สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม รวมทั้งด้านการศึกษา ซึ่งการมีบทบาทสำคัญนี้อาจกล่าวได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือไอทีนั้นเปรียบเหมือนเครื่องจักรที่สามารถรองรับข้อมูลข่าวสารมาทำการประมวลผล และการแสดงผลตามที่ต้องการได้รวดเร็ว โดยอาศัยองค์ประกอบอื่นๆ ช่วยในการจัดการ ได้แก่ โปรแกรมปฏิบัติการ โปรแกรมชุดคำสั่งต่างๆ และที่สำคัญคือ ผู้ที่จะตัดสินใจหรือสั่งการให้ทำงานได้ถูกต้องตามเป้าหมาย ซึ่งได้แก่ บุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ใช้ ผู้บริหาร และผู้ชำนาญการ หรือนักเทคโนโลยีสารสนเทศโดยตรง
http://zareerat.blogspot.com กล่าวไว้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา หมายถึง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านการศึกษา อันได้แก่ การจัดเก็บข้อมูล และประมวลผลฐานข้อมูล การพัฒนาระบบสารสนเทศช่วยการเรียนการสอน การวางแผนและการบริหารการศึกษา การวางแผนหลักสูตร การแนะแนวและบริการ การทดสอบวัดผล การพัฒนาบุคลากร
สรุป เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา ใช้สำหรับการจัดเก็บข้อมูล และประมวลผลฐานข้อมูล การพัฒนาระบบสารสนเทศช่วยการเรียนการสอน การวางแผนและการบริหารการศึกษา การวางแผนหลักสูตร การแนะแนวและบริการ การทดสอบวัดผล ซึ่งเป็นการพัฒนาทั้งผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษา

อ้างอิง
http://etc4msu.multiply.com
http://learners.in.th
http://zareerat.blogspot.com

8.สื่อการสอน คืออะไร

8.สื่อการสอน คืออะไร
รศ.ดร.กิดานันท์ มลิทอง (2543:89) กล่าวไว้ว่า สื่อใดก็ตามที่บรรจุข้อมูลเพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับสามารถสื่อสารกันได้ตรงตามวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายที่ผู้สอนวางไว้ เมื่อมีการทำสื่อมาใช้ในการเรียนการสอน จึงเรียนว่า สื่อการสอน
http://sayan201.blogspot.com กล่าวไว้ว่า สื่อการเรียนการสอน หมายถึง ตัวกลางหรือช่องทางในการถ่ายทอดองค์ความรู้ทักษะ ประสบการณ์ จากแหล่งความรู้ไปสู่ผู้เรียน และทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
http://th.wikipedia.org/wiki กล่าวไว้ว่า สื่อการเรียนการสอน” (Instruction Media) หมายถึง สื่อชนิดใดก็ตามที่บรรจุเนื้อหา หรือสาระการเรียนรู้ซึ่งผู้สอนและผู้เรียนใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการเรียนรู้เนื้อหา หรือ สาระนั้น ๆ การเรียนการสอนในภาพลักษณ์เดิม ๆ มักจะเป็นการถ่ายทอดสาระความรู้จากผู้สอนไปยังผู้เรียน โดยใช้สื่อ การเรียนการสอนเป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ ความคิด ทักษะและประสบการณ์ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปแล้วว่าการเรียนรู้ไม่ได้จำกัด อยู่ เฉพาะในห้องเรียน หรือในโรงเรียน
สรุป สื่อการเรียนการสอน หมายถึง สื่อ ชนิดใดก็ตามที่บรรจุข้อมูลที่ใช้เป็นตัวกลางที่ผู้สอนใช้ถ่ายทอดความรู้ ทักษะ กระบวนการ ไปยังผู้เรียนให้เป็นตามวัตถุประสงค์ที่ผู้สอนวางไว้

อ้างอิง
รศ.ดร.กิดานันท์ มลิทอง.เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม.(2543):ห.จ.ก อรุณการพิมพ์
พิมพ์ครั้งที่ 2
http://sayan201.blogspot.com
http://th.wikipedia.org/wiki

9.สื่อประสม

9.สื่อประสม
รศ.ดร.กิดานันท์ มลิทอง (2543:89) กล่าวไว้ว่า เป็นการใช้สื่อร่วมกันหลายๆอย่างในรูปแบบสื่อผสม ในปัจจุบันการนำวัสดุมาผลิตเป็นชุดสื่อผสมโดยผลิตตามขั้นตอนการใช้ของระบบการสอน โดยจัดเป็น ชุดการสอน และเป็นชุดการเรียน ใช้เรียนได้ด้วยตัวเอง สื่อประสมแต่ละชุดมีลักษณะเป็นอย่างไรและประกอบด้วยสื่ออะไรบ้างย่อมขึ้นอยู่กับจุดมุงหมายของบทเรียนและวัตถุประสงค์ของการใช้
http://www.oknation.net/blog/khetpakorn กล่าไว้ว่า สื่อผสม (Mixed media art) เป็นงานวิจิตรศิลป์ที่ผสมผสานสื่อหลาย ๆ ประเภทเข้าด้วยกัน ได้แก่ งานจิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ หรืองานวาดเส้น ศิลปะสื่อผสมอาจมี ๒ ลักษณะ เป็น ๒ มิติ หรือ ๓ มิติ ก็ได้
http://th.wikipedia.org/wiki กล่าวไว้ว่า สื่อผสม (mixed media) เป็นวิจิตรศิลป์ ในการนำสื่อมากกว่าสองสื่อ หรือศิลปะมากกว่าสองแขนงมารวมกันขึ้นไปมาสร้างเป็นงานชิ้นเดียวกัน โดยนิยมใช้สื่อที่แตกต่างกัน มานำจุดเด่นของแต่ละสื่อมาใช้ร่วมกัน เช่นการสร้างภาพชุดชีวิตของนักบุญฟรานซิสแห่งอาซิซิในชาเปลต่างๆ ที่ภูเขาศักดิ์สิทธิ์แห่งพีดมอนต์และลอมบาร์ดีทางตอนเหนือของประเทศอิตาลีที่ใช้ทั้งประติมากรรมและจิตรกรรมมาผสมผสานเข้าเป็นการงานชิ้นเดียวกันที่ทำให้เป็นงานที่มีลักษณะเป็นสามมิติ
สรุป สื่อผสม คือ การนำสื่อแต่ละอย่างที่มากกว่าสองสื่อขึ้นไปมาประยุกต์ใช้ร่วมกัน เกิดเป็นผลงานชิ้นเดียวกันซึ่งสามารถใช้เป็นบทเรียนได้มีลักษะเป็น ๒ มิติ และ ๓มิติ

อ้างอิง
รศ.ดร.กิดานันท์ มลิทอง.เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม.(2543):ห.จ.ก อรุณการพิมพ์
พิมพ์ครั้งที่ 2
http://www.oknation.net/blog/khetpakorn
http://th.wikipedia.org/wiki

10.รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอนประกอบด้วยอะไรบ้าง

10.รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอนประกอบด้วยอะไรบ้าง
รศ.ดร.กิดานันท์ มลิทอง (2543:89) กล่าวไว้ว่า สื่อหลายมิติ เป็นการขยายแนวความคิดของข้อความหลายมิติ ในเรื่องของการเสนอข้อมูลในลักษณะไม่เป็นเส้นตรง และเพิ่มความสามารถในการบรรจุข้อมูลในลักษณะของภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์ ภาพกราฟิคในลักษณะภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพถ่าย เสียงพูด เสียงดนตรี เข้าไว้ในเนื้อหาด้วย เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาเรื่องราวในลักษณะ ต่าง ๆ ได้หลายรูปแบบกว่าเดิม
http://ninlawan15.blogspot.com/ กล่าวไว้ว่า ความหมาย สื่อหลายมิตินั้นเป็นสื่อประสมที่พัฒนามาจากข้อความหลายมิติ ซึ่งแนวความคิดเกี่ยวกับ ข้อความหลายมิติ Hypertext หรือข้อความหลายมิติ คือ เทคโนโลยีของการอ่านและการเขียนที่ไม่เรียงลำดับ เนื้อหากัน โดยเสนอในลักษณะของข้อความที่เป็นตัวอักษร หรือภาพกราฟฟิค อย่างง่าย ที่มีการ เชื่อมโยงถึงกัน เรียกว่า “จุดต่อ” (node) โดยผู้ใช้สามารถเคลื่อนที่จากจุดต่อหนึ่งไปยังอีกจุดต่อ หนึ่งได้โดยการเชื่อมโยงจุดต่อเหล่านั้น
http://school.obec.go.th/ กล่าวไว้ว่า สื่อหลายมิติ (Hypermedia) มีนักวิชาการได้ให้ความหมายและลักษณะของสื่อหลายมิติไว้ดังนี้
น้ำทิพย์ วิภาวิน กล่าวไว้ว่า สื่อหลายมิติ (Hypermedia) เป็นเทคนิคที่ต้องการใช้สื่อผสม อื่น ๆ ที่คอมพิวเตอร์สามารถนำเสนอได้ในรูปแบบต่าง ๆ ได้ทั้งข้อความ เสียง ภาพนิ่ง และภาพ เคลื่อนไหว
วิเศษศักดิ์ โคตรอาชา กล่าวว่า สื่อหลายมิติ Hypermedia เป็นการขยายแนวความคิดจาก Hypertext อันเป็นผลมาจากพัฒนาการของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่สามารถผสมผสานสื่อและอุปกรณ์หลายอย่างให้ทำงานไปด้วยกัน
สรุป สื่อหลายมิติ เป็นผลมาจากเทคนิคคอมพิวเตอร์ที่ผสมกับสื่อหลายอย่างเข้าด้วยกัน เกิดเป็นสื่อหลายมิติ ประกอบด้วย ภาพถ่าย เสียงพูด เสียงดนตรี ข้อความ เสียง ภาพนิ่ง และภาพ เคลื่อนไหว

อ้างอิง
รศ.ดร.กิดานันท์ มลิทอง.เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม.(2543):ห.จ.ก อรุณการพิมพ์
พิมพ์ครั้งที่ 2
http://ninlawan15.blogspot.com/
http://school.obec.go.th/